"คำว่า 'วัยทอง' นี่ผู้หญิงทุกคนได้ยินก็คงจะใจหายนะคะ
แต่นั่นเป็นธรรมชาติของชีวิต ดิฉันไม่ค่อยรู้สึกกับคำนี้เท่า
ไหร่ค่ะ กลับคิดว่าเราควรจะหาทาง จัดการกับสิ่งที่จะเกิด
ขึ้นพร้อมกับวัยทองดีกว่า"

ในวัย 52 ปีของ พันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภรรยา
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งดำรงตำแหน่ง
นายกสมาคมแม่บ้านทหารบก ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 ปัจจุบันยังคง
สดชื่นแข็งแรง

ทั้งที่บทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในฐานะนายกสมาคมฯ ทำ
ให้แต่ละวันของท่านยุ่งไม่ใช่น้อย
"ตามนโยบายของสมาคมแม่บ้านทหารบกก็คือดูแลเรื่องสวัสดิการของกำลังพลในส่วนของครอบครัว เพราะรายได้ของทหารขั้นต่ำกว่าสัญญาบัตรจะน้อยมาก

ยิ่งเศรษฐกิจแบบนี้ เราก็ต้องหาอาชีพเสริมให้ภรรยาทหารชั้นผู้น้อย เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า สำหรับทหารใหม่ที่เข้ามาฝึก ก็เป็นการสร้างงานอาชีพที่ต่อเนื่องให้เขา

แผนงานเหล่านี้ก็ทำมาต่อเนื่องตั้งแต่นายกสมาคมฯ ท่านก่อน ๆ ดิฉันก็เข้ามาสานต่อในส่วน ที่ทำไว้แล้ว"

พันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์เป็นทั้งผู้หญิงทำงานและ แม่บ้านควบคู่กันมา ตลอดนับแต่จบ การศึกษาจนมีครอบครัว

"ก่อนหน้าที่จะมารับตำแหน่งแม่บ้านทหารบก ดิฉันก็เป็นทหารยศพันเอกหญิง ก็รับราชการ ทหารมาตั้ง แต่ จบการศักษาเลย

เริ่มทำงานที่กองภาษา กรมยุทธศึกษาทหารบก เป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้ กับทหารที่ได้รับ ทุนไปเรียนต่าง ประเทศ ตามระเบียบของกองทัพบก ผู้ที่ได้รับคัดเลือกต้องมาเรียนภาษา ก่อน 4 เดือน ซึ่งก็ทำให้ได้พบกับท่าน ที่นั่น
ดิฉันแต่งงานอายุเยอะพอสมควร 31 ปี มีลูกตอนอายุ 32 เป็นชาย 2 คนยังวัยรุ่นอยู่ ประมาณ18 - 19 ปี และ มีบุตรชายจากภรรยาเก่าของสามีอีก 1 คน ก็เลยมีบุตรชาย 3 คน"

แม้จะเข้าสู่วัยกลางคน แต่พันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดีก็ยังแลดูสดชื่น กระฉับกระเฉง และแข็งแรง

"เพราะดิฉันเป็นคนทำงานมาตลอดและก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายค่ะ

เพราะสมัยคุณแม่คำว่า "วัยทอง" นี่ยังไม่มีใครรู้จัก แต่เห็นคุณแม่มีอาการแปลก ๆ ช่วงหนึ่งของชีวิตไม่สบายเจ็บออด ๆ แอด ๆ ปวดศีรษะ ไม่มีแรง หงุดหงิดง่าย

พอโตขั้นก็ได้ความรู้ว่าอาการที่เกิดขึ้นกับหญิงวัยกลางคนแบบนั้น คือการเข้าสู่วัยหมด ประจำเดือน ซึ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนในร่างกาย

เลยคิดว่าเราต้องพยายามเตรียมตัวรับให้ดี เพราะคุยกับคุณหมอทางสูตินรีเวชก็พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงจะ เป็นกัน เพียงแต่ว่าอาการของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เช่น มีอาการร้อน ๆ หนาว ๆ วูบ ๆ วาบ ๆ บางคนก็คันตามผิวหนังเพราะผิวแห้ง

สำหรับดิฉันเองเริ่มมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนลดระดับต่ำลง
แล้วก็ ปวดศีรษะมาก"


โชคดีที่เมื่อรู้สึกว่าร่างกายมีความผิดปกติคุณหญิงก็ไม่นิ่งนอนใจ"ดิฉันปรึกษาหมอที่
โรงพยาบาลพระมงกุฎ ตรวจเช็คร่างกาย เริ่มมีอาการกระดูกบาง ไขมันสูง


คุณหมอจะให้ตัดสินใจเองว่าจะรับประทานฮอร์โนนไหม อาการที่เป็นมาก ๆ คือปวดหัว
อย่างรุนแรง ทรมานมาก ปวดอยู่ 3 วันก็ไม่หาย เลยตัดสินใจรับฮอร์โมนแบบเม็ด ปรากฎว่าอาการอย่างอื่นดีขึ้นแต่ว่า ปวดศีรษะรุนแรงขึ้น


จนมีโอกาสได้พบกับคุณหมอกิตติศักดิ์ วิลาวรรณ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านสุขภาพหญิงวัยทอง
แนะนำให้ใช้ ฮอร์โมนตัวใหม่เป็นแผ่นแปะของเชริ่ง แปะไว้ที่หน้าท้องหรือสะโพกเป็นเวลา
7 วัน ยาจะค่อย ๆ ซึมเข้าสู่ร่างกาย พอครบ 7 วันก็เปลี่ยนแผ่นใหม่


ตั้งแต่เริ่มใช้แผ่นแปะนี่อาการปวดศีรษะหายไป ยังมีบ้างนิด ๆ หน่อย แต่ทานยาแล้วก็หาย เรียกว่า คุณภาพชีวิตดีขึ้นมากเลยค่ะ"

แม้อาการเช่นนี้เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ แต่เชื่อว่าหลายคนคงทำใจรับลำบาก

"คำว่า 'วัยทอง' นี่ ผู้หญิงทุกคนได้ยินก็คงจะใจหายนะคะ (ยิ้ม) แต่นั่นเป็นธรรมชาติของชีวิตดิฉันไม่ ค่อยรู้สึกกับคำนี้เท่าไหร่ค่ะ กลับคิดว่าเราควรจะหาทางจัดการกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับ วัยทอง ดีกว่า

อ่านต่อด้านบน    >   >>
   
(ต่อจากด้านล่าง)
การเข้ารับการปรึกษาเสียแต่เนิ่น ๆ นับว่าเป็นการเตรียมการชีวิตที่ดี อย่างดิฉันถือ ว่าโชีดีตรงที่
ไม่มี อาการหงุดหงิดอย่างคนอื่น ๆ คงเป็นเพราะเรารู้ว่าอาการอย่างนี้จะเกิดกับเราแน่ ๆ ก็เริ่มหา
ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ สวดมนต์ไหว้พระมากขึ้น


เรื่องอาหารการกินก็เป็นสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง ทั้งที่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยากที่สุด อย่างเช่น เมื่อก่อน ไม่ทานอาหารหวานเลย แต่เดี๋ยวนี้เริ่มมีความชอบขึ้นมา แต่ก็ อย่าตามใจตัวเองมาก ทานพอให้หายอยากก็พอ

ฝรั่งเขามีคำพูดหนึ่งคือ You are what you eat คุณกินอย่างไรคุณก็เป็น อย่างนั้นเราก็ต้องปรับนิสัย การกินเพื่อสุขภาพ

ส่วนการออกกำลังกายจะเน้นที่การเดิน การจ็อกกิ้งเบา ๆ เพราะอายุมากแล้วการออกกำลังกายไม่ควรหักโหม กระดูกข้อต่อต่าง ๆ ไม่แข็งแรงเหมือนคนหนุ่มสาว

การออกกำลังกายให้ได้เหงื่อวันละ 30 นาที ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งเป็วตัว
ที่ต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันไม่เจ็บป่วยง่าย


อารมณ์เป็นสิ่งที่โดนกระทบง่ายที่สุดทั้งจากเรื่องงาน เรื่องครอบครัว ถ้าเราสามารถทำอารมณ์ให้นิ่งมีสติ มีสมาธิเราต้องหาจุดที่พอใจของเราเพื่อเรียนรู้การแก้ปัญหาต่าง ๆ คือใช้ตัวเองเป็นครู

สำหรับดิฉันใช้วิธีการสวดมนต์ แต่ไม่ถึงกับนั่งสมาธิ เพียงแต่หาสิ่งยึดเหนี่ยวไว ้สวดมนต์วันละ 45 นาที หรือ ชั่วโมงหนึ่งในวันที่ไม่ค่อยมีสมาธิ แล้วก็สวดได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ไม่ต้องเข้มงวดมาก

ศาสนาพุทธสอนให้เราเดินสายกลางทำทุกอย่างแต่พอดี ไม่จำเป็นว่าตื่นเช้า มาต้องสวด ก่อนนอน ต้องนั่งสมาธิในห้องพระ เวลาเดินทางแล้วรถติดก็สวดได

ทำอย่างนี้แล้วสบายใจ แต่ไม่ใช่ว่าตัดกิเลสได้ทั้งหมดนะคะ เวลามีอะไรกระทบก็ต้องรู้สึกบ้าง
เพียงแต่ว่าเราต้อง หาทางระงับได้ด้วยตัวเอง"


การมีสติและยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจ และเตรียมพร้อมสำหรับทุกอย่างเช่นนี้
ทำให้ชีวิตของพันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดีดำเนินต่อไปได้อย่างมีความสุข


ซึ่งผลดีทั้งหลายก็สะท้อนออกมาทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเห็นนี่เอง



อ้างอิงจากนิตยสารรายปักษ์ พลอยแกมเพชร ปีที่ 10 ฉบับที่ 236