โรคกระดูกพรุน

      ในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง เนื้อเยื่อกระดูกมีการเสื่อมสลายและสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา สำหรับคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน การสร้างเซลกระดูกไม่เร็วเท่ากับการทำลาย ความหนาแน่นของกระดูกในผู้ชายระหว่างอายุ 40-70 ปีจะลดลงถึง 15% สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เนื่องจากบุคคลที่มีความหนาแน่นของกระดูกต่ำเสี่ยงต่อกระดูกหัก บริเวณที่เกิดโดยทั่วไปคือ สะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และซี่โครง

      ฮอร์โมนเพศชายมีผลกับหลายระบบของการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย มีส่วนในการผลิตเม็ดเลือดที่ไขกระดูก เช่นเดียวกับการผลิตกระดูก การลดลงของระดับฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทในการลดการเกิดใหม่ของกระดูกและลดการผลิตเม็ดเลือดแดง

      กับการที่มีอายุเพิ่มขึ้นและระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง ระดับความเสี่ยงของผู้ชายคล้ายกับผู้หญิง คือ1 ใน 8 ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน

ใครจะเป็นโรคกระดูกผรุนเราไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะชักนำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ความเสี่ยงเหล่านี้คือ

  • สูงอายุ
  • ระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ
  • ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคกระดูกพรุน
  • รูปร่างที่ผอมและหรือเล็ก
  • การใช้ยาสเตอรอยด์ ยากันชัก
  • การดื่มสุรามากเกินไป
  • การสูบบุหรี่
  • การขาดการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก

      ทำอย่างไรคุณถึงจะรู้ว่าคุณเป็นชายวัยทองหรือไม่


      วิธีเดียวที่จะค้นหาเพื่อความแน่ใจคือการประเมินตนเอง ร่วมกับการตรวจร่างกายและ ตรวจเลือด เพื่อวัดระดับของ Bioavailable testosterone ช่วงเวลาที่ดีของการตรวจคือเวลาเช้า เนื่องจากช่วงกลางวันและช่วงกลางคืนฮอร์โมนเพศชายจะสูง

 

      การรักษา

การรักษาที่ปฏิบัติกันมามีอยู่ 2 วิธีคือการได้รับฮอร์โมนเพศชายเสริมโดย

1. การฉีด หรือ
2. การรับประทาน

 

      ข้อแนะนำสำหรับการมาตรวจสำหรับคุณสุภาพบุรุษ

  •    อายุ 18-39 ปี (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
  •    อายุ 40-49 ปี (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
  •    อายุ 50-64 ปี (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
  •    อายุ 65 ปีขึ้นไป (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
  • << back